Page 30 -
P. 30
30 31
3. การพัฒนา (Develop)
การพัฒนาสามารถแยกได้เป็นสองประเด็นใหญ่ ๆ คือ
การวาง Career Path ภาพใหญ่ขององค์กร หากลองสังเกต
ประเทศที่เข้าอยู่สูงวัยก่อนประเทศไทย เช่น ประเทศญี่ปุ่น
หรือประเทศสิงคโปร์ จะเห็นการเพิ่มอายุของการเกษียณเป็น
หนึ่งในมาตรการที่ใช้บรรเทาปัญหาขาดแคลนแรงงานของ
ประเทศ ดังนั้นถ้าหากไทยขยายเวลาอายุเกษียณออกไปอีก
3-5 ปี องค์กรควรกลับมาทบทวนว่าในแง่ของ Career Path
ขององค์กรยังเหมาะสมอยู่หรือไม่
อีกประเด็นคือการอบรม พัฒนา เพราะโลกปัจจุบัน
พนักงานทุกต�าแหน่งจ�าเป็นต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในการ
ท�างาน ซึ่ง HR ควรค�านึงถึงความแตกต่างด้านการเรียนรู้ของ
แต่ละวัย และปรับวิธีการอบรมและพัฒนาให้เหมาะสมกับ
พนักงานในช่วงอายุต่าง ๆ
4. การสร้างความผูกพัน (Engage)
การสร้างความผูกพันกับกลุ่มพนักงานผู้สูงอายุ
ค�านึงถึงความ ไม่ได้มีความแตกต่างพิเศษจากกลุ่มพนักงานในช่วงวัย
แตกต่างด้าน อื่น คือเราต้องเข้าใจ ปฏิบัติต่อเขาอย่างมีเกียรติ และ
ให้รู้สึกว่าองค์กรเห็นคุณค่า รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน
การเรียนรู้ ในการขับเคลื่อนองค์กรเช่นเดียวกับทุกคน ซึ่งการจะ
ไปถึงตรงจุดนั้นสามารถใช้ระบบต่าง ๆ ของ HR ไม่ว่า
ของแต่ละวัย และปรับวิธี จะเป็นระบบการให้รางวัลและการชมเชย (Rewards &
การอบรมและพัฒนาให้ Recognition) โครงการสนับสนุนความหลากหลายและ
การมีส่วนร่วม (Diversity & Inclusion Program) ระบบ
เหมาะสม สวัสดิการต่าง ๆ ที่ค�านึงถึงความต้องการที่แตกต่างของ
พนักงานในแต่ละช่วงอายุ เป็นต้น
การมองผลกระทบของ Aging Population ผ่าน
ระบบ HR ต่าง ๆ จะช่วยให้องค์กรเข้าใจภาพใหญ่ และ
เตรียมตัวไม่เพียงรับมือ แต่เปลี่ยนเป็นจุดแข็งในการ
สร้างภาพลักษณ์ และบริหารผู้สูงอายุที่จะเข้ามาเป็น
ส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืน
*ข้อมูลของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย