Page 16 -
P. 16
16 17
แล้วเราจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ไหมครับ
ปัญหาเรื่องนี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เราใช้เวลา
40 ปี จึงท�าให้มีโครงสร้างประชากรที่เป็นฐานแคบ ฉะนั้น
หากเราอยากให้เกิดภาวะที่เหมือนเมื่อก่อนก็ต้องอาศัย
เวลาประมาณ 40 ปีในการปรับโครงสร้างของประชากร
โดยให้ประชากรมีบุตรมากขึ้น แต่เรื่องนี้เป็นเทรนด์ของ
โลก ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย สิงคโปร์ที่ประสบ
ปัญหานี้ต้องออกนโยบายส่งเสริมการมีบุตร เพราะ
ไม่เช่นนั้นประชากรชาวสิงคโปร์จะลดลง การแก้ปัญหา
เชิงโครงสร้างเป็นเรื่องที่ยาก
ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องไปเน้นที่เรื่องการ
บริหารจัดการสังคมผู้สูงวัยให้คนทุกวัยสามารถอยู่
ร่วมกันได้ บนฐานของเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน เราจะ
ท�าอย่างไรให้สังคมสามารถเกื้อกูลกันได้จริง ๆ โดยที่
เด็กสามารถเกื้อกูลผู้ใหญ่และผู้สูงวัยท�าให้ภาระพึ่งพิง
น้อยลง ซึ่งทางแก้ที่เห็นในตอนนี้จะเป็นเรื่องการสร้าง
อาชีพให้คนสูงวัยและการขยายอายุเกษียณออกไป
แต่อีกมุมหนึ่ง ปัจจุบันแรงงานวัยท�างานของ
เรายังอยู่ในปริมาณไม่น่าห่วง อีกทั้งแรงงานของเรารับ
ค่าจ้างค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน การ
ขาดแคลนแรงงานในเชิงโครงสร้างและการที่แรงงาน
มีทักษะไม่ตรงกับความต้องการอาจเป็นปัญหาปกติที่
เกิดขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยมีค่าจ้างสูงกว่าประเทศ
เพื่อนบ้านท�าให้ในเชิงปริมาณประเทศไทยสามารถ
หาแรงงานต่างด้าวเข้ามาช่วยแก้ไขการขาดแคลนเชิง
ปริมาณ แต่อาจยังไม่ได้ทักษะตามที่นายจ้างต้องการ